คริสเตียนควรตกเป็นบุคคลล้มละลายหรือไม่

คำถาม คริสเตียนควรตกเป็นบุคคลล้มละลายหรือไม่ คำตอบ แม้ว่าพระคัมภีร์ไม่ได้ระบุถึงการล้มละลายในตัวมันเอง แต่เราก็มีหลักการบางประการที่อาจนำไปใช้กับเรื่องนี้ได้ ดังนั้นจึงสามารถช่วยเราในการตัดสินใจ หลักการทางพระคัมภีร์ข้อที่ 1 เรามีหน้าที่ในการรักษาสัญญาและจ่ายในสิ่งที่เราเป็นหนี้ พระธรรมปัญญาจารย์ 5:4-5 กล่าวว่า “เมื่อเจ้าบนไว้ต่อพระเจ้า อย่าชักช้าที่จะแก้บนนั้นให้สำเร็จ เพราะพระองค์ไม่พอพระทัยในคนเขลา จงแก้บนตามที่เจ้าบนไว้เถิด ที่เจ้าจะไม่บนก็ยังดีกว่าที่เจ้าบนแล้วไม่แก้” หลักการทางพระคัมภีร์ข้อที่ 2 การดำเนินชีวิตด้วยเงินสินเชื่อและไม่จ่ายคืนในสิ่งที่เราติดหนี้คือลักษณะของคนอธรรม พระธรรมสดุดี 37:21 กล่าวว่า “คนอธรรมขอยืม และไม่คืน แต่คนชอบธรรมใจกว้างและแจกจ่าย” คริสเตียนไม่ได้มีหน้าที่ประพฤติในวิธีการเดียวกับ “คนอธรรม” สิ่งนี้เหมาะสมหรือไม่สำหรับคริสเตียนซึ่งเป็นหนี้ที่จะทำการ “แก้ไขด่วน” เพื่อแก้ปัญหาของเขาโดยที่แสวงหาการกลายบุคคลล้มละลาย หากขึ้นอยู่กับข้อเหล่านี้ คำตอบก็คือ “ไม่เหมาะสม” คริสเตียนมีหน้าที่ต้องจ่ายในสิ่งที่เค้าตกลงจะจ่ายภายใต้เงื่อนไขเดิมของข้อตกลง ซึ่งนั่นอาจหมายถึงการเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิตหรือการปรับเปลี่ยนค่าใช้จ่ายอย่างสิ้นเชิง แต่การอารักขาเงินที่ดีนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิตที่ติดสนิทกับพระเจ้า มีการล้มละลายบางประเภทซึ่งถูกออกแบบมาให้เลื่อนเวลาการชำระเงินคืนออกไปแทนที่จะหลีกเลี่ยงมัน ในกรณีเช่นนี้ถือว่าหนี้ไม่ได้ถูกลบล้างไป และผู้ถูกฟ้องล้มละลายก็กำลังสื่อสารว่าเขาตั้งใจที่จะชำระหนี้ของเขา การคุ้มครองของศาลจะขยายเวลาออกไปจนกว่าคนคนนั้นมีความสามารถในการชำระเงินคืน การล้มละลายประเภทนี้จะไม่ขัดขืนต่อหลักการของพระคัมภีร์ที่ได้กล่าวมาข้างต้น และสำหรับคริสเตียนแต่ะละคนแล้วก็เป็นเรื่องของความรู้สึกผิดชอบชั่วดี [English] [กลับสู่หน้าภาษาไทย] คริสเตียนควรตกเป็นบุคคลล้มละลายหรือไม่

คำถาม

คริสเตียนควรตกเป็นบุคคลล้มละลายหรือไม่

คำตอบ

แม้ว่าพระคัมภีร์ไม่ได้ระบุถึงการล้มละลายในตัวมันเอง แต่เราก็มีหลักการบางประการที่อาจนำไปใช้กับเรื่องนี้ได้ ดังนั้นจึงสามารถช่วยเราในการตัดสินใจ

หลักการทางพระคัมภีร์ข้อที่ 1 เรามีหน้าที่ในการรักษาสัญญาและจ่ายในสิ่งที่เราเป็นหนี้ พระธรรมปัญญาจารย์ 5:4-5 กล่าวว่า “เมื่อเจ้าบนไว้ต่อพระเจ้า อย่าชักช้าที่จะแก้บนนั้นให้สำเร็จ เพราะพระองค์ไม่พอพระทัยในคนเขลา จงแก้บนตามที่เจ้าบนไว้เถิด ที่เจ้าจะไม่บนก็ยังดีกว่าที่เจ้าบนแล้วไม่แก้”

หลักการทางพระคัมภีร์ข้อที่ 2 การดำเนินชีวิตด้วยเงินสินเชื่อและไม่จ่ายคืนในสิ่งที่เราติดหนี้คือลักษณะของคนอธรรม พระธรรมสดุดี 37:21 กล่าวว่า “คนอธรรมขอยืม และไม่คืน แต่คนชอบธรรมใจกว้างและแจกจ่าย” คริสเตียนไม่ได้มีหน้าที่ประพฤติในวิธีการเดียวกับ “คนอธรรม”

สิ่งนี้เหมาะสมหรือไม่สำหรับคริสเตียนซึ่งเป็นหนี้ที่จะทำการ “แก้ไขด่วน” เพื่อแก้ปัญหาของเขาโดยที่แสวงหาการกลายบุคคลล้มละลาย หากขึ้นอยู่กับข้อเหล่านี้ คำตอบก็คือ “ไม่เหมาะสม” คริสเตียนมีหน้าที่ต้องจ่ายในสิ่งที่เค้าตกลงจะจ่ายภายใต้เงื่อนไขเดิมของข้อตกลง ซึ่งนั่นอาจหมายถึงการเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิตหรือการปรับเปลี่ยนค่าใช้จ่ายอย่างสิ้นเชิง แต่การอารักขาเงินที่ดีนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิตที่ติดสนิทกับพระเจ้า

มีการล้มละลายบางประเภทซึ่งถูกออกแบบมาให้เลื่อนเวลาการชำระเงินคืนออกไปแทนที่จะหลีกเลี่ยงมัน ในกรณีเช่นนี้ถือว่าหนี้ไม่ได้ถูกลบล้างไป และผู้ถูกฟ้องล้มละลายก็กำลังสื่อสารว่าเขาตั้งใจที่จะชำระหนี้ของเขา การคุ้มครองของศาลจะขยายเวลาออกไปจนกว่าคนคนนั้นมีความสามารถในการชำระเงินคืน การล้มละลายประเภทนี้จะไม่ขัดขืนต่อหลักการของพระคัมภีร์ที่ได้กล่าวมาข้างต้น และสำหรับคริสเตียนแต่ะละคนแล้วก็เป็นเรื่องของความรู้สึกผิดชอบชั่วดี

[English]



[กลับสู่หน้าภาษาไทย]

คริสเตียนควรตกเป็นบุคคลล้มละลายหรือไม่

Similar Posts

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *